You are currently viewing เด็กเจนใหม่ไม่ดูทีวี จริงหรือ

เด็กเจนใหม่ไม่ดูทีวี จริงหรือ

  • Post author:
  • Post category:Blog

เป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกวันนี้สมาร์ทโฟนกลายเป็นเหมือนปัจจัยที่ห้าของสิ่งมีชีวิตอย่างเราไปแล้ว ส่วนมากผู้คนสมัยนี้ก็มักจะเสพสื่อหรือข่าวสารต่างๆผ่านทางสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกันทั้งนั้นเนื่องจากสะดวกหยิบง่ายสามารถดูได้ทุกที่ทำให้เปอร์เซ็นต์การดูโทรทัศน์ลดลงจริงหรือไม่ ทางเราขอบอกว่าเป็นเรื่องจริง แต่ไม่ถึงขนาดที่ เด็กเจนใหม่ไม่ดูทีวี เลย โดยมีการสำรวจคนเจนต่างๆทั่วประเทศโดยสุ่มสำรวจ 10,000 ครอบครัวจากกสทช. ถึงความต้องการในการดูโทรทัศน์ของคนในช่วงวัยต่างๆในครอบครัว ยิ่งเด็กเจนใหม่ๆจะดูโทรทัศน์น้อยลงแต่ไปดูรายการผ่านทางสมาร์ทโฟนแทน แต่สิ่งที่ยังคงฮิตติดกันทุกบ้านยิ่งกว่าสมาร์ทโฟนก็คือเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลเพราะส่วนมากแล้วไม่ว่าจะออกไปทำธุระนอกบ้านหรือทำกิจกรรมอย่างอื่นสุดท้ายก็ต้องกลับมาที่บ้าน ดังนั้นกล่องรับสัญญาณทีวีตีตลาดแตกมาก

เด็กเจนใหม่ไม่ดูทีวี แล้วดูอะไรกันวันละกี่ชั่วโมง

จากผลการสำรวจพบว่าคนส่วนมากจะดูคลิปหรือดูทีวีประมาณสองถึงสี่ชั่วโมงต่อวัน และช่วงมีการดูคลิปภาพเคลื่อนไหวหรือดูทีวีมากที่สุดคือช่วงหกโมงเย็นถึงสี่ทุ่มนับได้เป็น 70% ของทั้งหมดเลยทีเดียว สาเหตุที่มีการดูทีวีเลยส่งเยอะเนื่องจากเป็นช่วงเวลาหลังเลิกงานกลับมาบ้านเป็นช่วงเวลาแห่งการผ่อนคลาย ช่วงเวลาที่มีการดูทีวีน้อยที่สุดเป็นช่วงหลังตีสองเป็นต้นไปถึงหกโมงเช้าเนื่องจากมักเป็นเวลาพักผ่อนของพวกเรานั่นเอง ส่วนพวกรายการทีวีตามตารางหรือรายการสดต่างๆ มักจะเป็นช่วง 40 ปีขึ้นไปจนถึงอายุ 70-80 ส่วนคนที่อายุน้อยกว่านั้นมักจะดูเป็นรายการสดบ้างย้อนหลังบ้างแล้วแต่ตามสะดวก

ดูรายการอะไรกัน

ช่องกลุ่มอายุเจนแซดคือตั้งแต่ 23 ปีลงมาเรื่อยไปจนถึงกลุ่มเจนวายคือช่วง 20 กว่าถึง 40 ปีกลุ่มนี้มักจะดูเป็นพวกละครซีรีย์ภาพยนตร์หรือรายการวาไรตี้ต่างๆ และมีการดูเกี่ยวกับพวกท่องเที่ยวบ้าง สุขภาพบ้าง อาหารบ้างเป็นหลัก อื่นๆก็จะเฉลี่ยกระจัดกระจายกันไป แต่สำหรับช่วงเจนเอ็กซ์ขึ้นไปคือตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป มักจะดูรายการข่าวเป็นหลักน่าจะเพราะกิจวัตรประจำวันที่คุ้นชินกันมาตั้งแต่สมัยก่อนคือตอนเช้าตื่นมาก่อนไปทำงานก็ดูข่าวซักนิดนึงก่อนไปทำงานเป็นการติดตามสถานการณ์โลกและสถานการณ์อื่นๆที่เกิดขึ้นภายในประเทศ และมีการดูวาไรตี้ภาพยนตร์และรายการอื่นๆบ้างเฉลี่ยๆกันไป ส่วนในกลุ่มผู้ใหญ่ที่เป็นยุคเบบี้บูมเมอร์ขึ้นไปคือช่วงอายุ 50 กว่าจนถึง 60 เรื่อยไปจนถึง 80 ขึ้นไปมักจะดูละครและรายการวาไรตี้ในเปอร์เซ็นต์สัดส่วนที่ค่อนข้างเยอะ น่าจะสืบเนื่องมาจากเป็นวัยที่เกษียณจากการทำงานแล้วอยู่บ้านพักผ่อนจึงดูรายการที่ช่วยให้พักผ่อนหย่อนใจเสียส่วนมาก พูดถึงช่องทางในการรับชมสื่อต่างๆนั้นยิ่งเด็กเจนใหม่ใหม่ก็จะมีช่องทางที่หลากหลายในการบริโภคสื่อมากขึ้น คือบริโภคผ่านทางสื่อออนไลน์ช่องทางต่างๆซึ่งค่อนข้างเปิดกว้างมากกว่า ส่วนตั้งแต่วัยผู้ใหญ่ในกลุ่มเจนเอ็กซ์ขึ้นไปมักจะรับสื่อแค่จากทางรายการโทรทัศน์ต่างๆเป็นหลัก น่าจะเป็นเพราะความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีเซิร์ซหาข้อมูลออนไลน์ยังไม่เท่ากับเด็กรุ่นปัจจุบัน การดูผ่านทางโทรทัศน์น่าจะเป็นช่องทางที่สะดวกมากกว่าจึงทำให้วัยผู้ใหญ่เรื่อยไปจนถึงวัยผู้สูงอายุมักจะเลือกรับข่าวสารผ่านทางโทรทัศน์มากกว่า